ค่าเงินดอลลาร์ USD ที่แข็งค่าขึ้นเทียบกับค่าเงินอื่น กดดันราคา พลังงาน และน้ำมัน


 Advertisement
           "บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบปิดตลาดในวันที่ 22 ก.ค. 2558 พบว่าน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ปรับลดลง 1.67 ดอลลาร์ ปิด ณ ราคา 49.19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนับเป็นช่วงนี้สองของปีนี้ ที่ ราคาน้ำมันดิบร่วงลงต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อีกครั้ง"  หลังจากพึ่ง ฟื้นตัวได้พักใหญ่ภายหลังเกิดวิกฤตราคาน้ำมันจากการที่กลุ่ม OPEC  มีมติไม่ลดกำลังการผลิตหลังเกิดปัญหา อุปทานล้น เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาทำให้ราคาน้ำมันร่วงลงอย่างรวดเร็ว (ที่มา:บางกอกโพส)

oil Price drop


            ทั้งนี้ประเทศสมาชิกโอเปก ยังได้แสดงความเห็นว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบนี้ อาจเป็นเพียงการปรับตัวลดลงมาในระยะเวลาอันสั้นๆ เท่านั้น และในไม่ช้าความต้องการน้ำมันจะฟื้นตัวอีกครั้ง ทั้งนี้ราคาน่าจะฟื้นตัวได้ดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก อีกทั้งยังให้ความเห็นว่า ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงในขณะนี้ยังไม่กระทบต่อกระบวนการการผลิตและต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบ และยังไม่มีผลกระทบต่อตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศสมาชิก และเช่นเคย กลุ่ม OPEC จะไม่มีการแทรกแทรงราคาน้ำมันโดยการลดกำลังการผลิตน้ำมันลงเป็นแน่ และไม่มีนโยบายในการทำเช่นนั้นแน่นอนเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดของกลุ่มเอาไว้ นโยบายนี้คงไว้ จนกว่าจะมีกระประชุมกลุ่มผู้ค้าน้ำมันในครั้งต่อไปช่วงปลายปี ราวต้นเดือน ธันวาคม

โอเปก ราคาน้ำมัน
            "ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจของโลกที่อยู่ในภาวะซบเซาและ เปราะบางก็ได้ส่งผลให้ ค่าเงิน Forex ทั่วโลกอยู่ในสภาวะปั่นป่วน" โดยแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ มีแนวโน้มแข็งค่าเป็นพิเศษ หลังจาก ยุโรป กำลังเผชิญวิกฤตกรีซ ที่ไม่อาจชำระหนี้ที่ติดค้างแต่ ประเทศเจ้าหนี้ได้ ทำให้ค่าเงิน EUR อ่อนตัวลง และ USD แข็งค่าขึ้นเนื่องจากถูกคาดหวังว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าในเวลานี้ ในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย  (Safe Haven)